ดนตรีแจ๊ส คืออะไร

อ้างอิงจาก “ตำราทฤษฎีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์” เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรัช เลาห์วีระพานิช อาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ได้อธิบายถึงเรื่ององค์ประกอบของดนตรีแจ๊สไว้อย่างละเอียดว่ามีทั้งหมด 5 ประการ


แน่นอนว่าเมื่อกล่าวถึงดนตรีแจ๊ส ผู้ฟังทุกคนคงจะนึกถึงการบรรเลงที่เน้นการด้นสดหรือการอิมโพรไวส์เป็นหลัก การอิมโพรไวส์คืออะไร? นักดนตรีและนักวิชาการต่างให้นิยามความหมายของการอิมโพรไวส์สำหรับดนตรีแจ๊สไว้หลากหลาย โดยสรุปได้ว่า การอิมโพรไวส์ คือ การแสดงคีตปฏิภาณ การด้นสด การประพันธ์ทำนองขึ้นอย่างฉับพลัน โดยไม่มีการตระเตรียมล่วงหน้า เป็นการบรรเลงที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกและความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล การอิมโพรไวส์สำหรับดนตรีแจ๊สมีหลายวิธี แต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีแตกต่างกันไป ไม่มีรูปแบบหรือวิธีการบรรเลงที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับอุปนิสัย ความชอบ และความถนัดของแต่ละบุคคล

เมื่อมองย้อนกลับไปยังรากฐานของดนตรีแจ๊ส จะพบว่าดนตรีแจ๊สได้รับอิมธิพลมาจากดนตรีของชาวแอฟริกัน ซึ่งเป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านจังหวะ โดยเฉพาะการใช้จังหวะขัด (Syncopation) ซึ่งเป็นการบรรเลงเน้นจังหวะ (Accentuation) ที่ไม่เป็นธรรมชาติ มักจะบรรเลงก่อนหรือหลังจังหวะตก (Downbeat) ความชื่นชอบในการบรรเลงจังหวะขัดของนักดนตรีแจ๊สส่งผลให้เกิดรูปแบบจังหวะชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “จังหวะซวิง” (Swing) ดังนั้น จังหวะซวิงจึงเป็นรูปแบบจังหวะสำคัญของดนตรีแจ๊ส


ขอบคุณข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยรังสิต https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/Lifestyle_JazzAjKook

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *