ปิ๊กกีต้าร์ – guitar pickปิ๊กกีต้าร์ –

ปิ๊กกีตาร์ และวัตถุดิบที่ใช้


        ปิ๊กกีตาร์ส่วนมากจะทำจากวัสดุชิ้นเดียวกันทั้งชิ้น ไม่ว่าจะเป็นจากพลาสติก ยาง กระดองเต่า กระดูกสัตว์ ไม้ โลหะ แก้ว หิน ผ้าสักหลาด โดยส่วนมากนิยมผลิตเป็นรูปทรงหยดน้ำ เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีมุมลักษณะโค้งมน 2 ด้าน และอีกด้านมีลักษณะแหลมกว่าเล็กน้อย เสียงที่ได้แน่นอนว่าเมื่อเทียบกับการดีดธรรมดาด้วยนิ้ว การดีดด้วยปิ๊กย่อมให้เสียงที่คมชัดกว่า ซึ่งเสียงที่ได้จากการดีดด้วยปิ๊กก็มีปัจจัยต่างๆ ยิ่งเป็นปิ๊กบางเสียงที่ได้ก็จะใสกว่าปิ๊กหนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของส่วนปลายปิ๊ก ส่วนที่ใช้ดีด ที่จะให้เสียงต่างกันตามความโค้งมนของรูปทรง หรือประเภทของวัตถุดิบที่ใช้

ความหนา-บางของปิ๊ก

ระดับความหนาความหนาเครื่องหมาย
มิลลิเมตรนิ้ว
บางมาก≤ 0.44≤ 0.017“Ex Lite” or “Extra Light”
บาง0.45–0.690.018–0.027“T” or “Thin” / “L” or “Light”
กลาง0.70–0.840.028–0.033“M” or “Medium”
หนา0.85–1.200.035–0.047“H” or “Heavy”
หนามาก≥ 1.50≥ 0.060“XH” or “Extra Heavy”

ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน

            ปิ๊กบาง : การใช้เล่นกับกีต้าร์โปร่งหรือใช้ในการตีคอร์ดมากกว่าการเล่นโซโล่ เนื่องจากความบางทำให้แรงต้านระหว่างสายกับตัวปิ๊กนั้นมีน้อยทำให้เวลาตีคอร์ดเสียงที่ได้จะมีความไหลลื่น แต่ปิ๊กบางจะเล่นโซโล่ที่มีความเร็วได้ยากกว่าและเนื้อเสียงที่ได้จะบาง

         ปิ๊กขนาดกลาง : เป็นปิ๊กกีต้าร์ที่เหมาะกับการเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า ซึ่งด้วยความหนาที่อยู่ในระดับกลางๆจึงทำให้สามารถเล่นได้หลายแนวทั้งตีคอร์ดหรือโซโล่ ซึ่งเสียงที่ได้จะมีความหนากว่าแบบบาง

         ปิ๊กหนา : เป็นปิ๊กที่เหมาะกับการเล่นกีต้าร์โซโล่ที่เน่นความเร็ว เนื่องจากตัวปิ๊กจะมีแรงต้านสูงทำให้ตัวปิ๊กไม่อ่อนตัวเวลาดีดทำให้การดีดด้วยความเร็วทำได้ง่ายขึ้น

วัตถุดิบที่ใช้

พลาสติก เป็นวัตถุดิบที่พบได้ทั่วไป แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น 

          Celluloid เป็นพลาสติกชนิกแรกๆ ที่ถูกนำมาทำปิ๊ก ยังยังมีการผลิตใช้อยู่เรื่อยๆ สำหรับมือกีตาร์ที่อยากได้โทนแบบวินเทจ 

Nylon เป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยม มีข้อดีที่ความยืดหยุ่นสูง สามารถทำได้ทั้งปิ๊กระดับบางถึงบางมาก มีข้อเสียที่มีผิวลื่น ต้องเคลือบส่วนเพิ่มแรงเสียดทานเพื่อจะได้จับง่ายๆ จะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น สึกหรอ หรือแตกหักได้ เมื่อผ่านการใช้งานประมาณ 1-2 เดือน 

Acetal ถูกพัฒนาเพื่อมาแทนที่การใช้กระดองเต่าหลังจากการซื้อขายกระดองเต่าถูกแบนในปี ค.ศ. 1973 เป็นวัตถุดิบที่แข็งแรง คงทนสูง มีลักษณะผิวเรียบ มันเงา แต่ก็สามารถนำไปเคลือบผิวด้านได้เพื่อให้มือกีตาร์จับอยู่มือ สำหรับปิ๊กแบบผิวเรียบเวลาดีดจะไหลผ่านสายอย่างรวดเร็วทำให้เกิดนอยซ์ที่น้อย แต่แบบผิวด้านจะให้นอยซ์ที่เยอะ และดุดัน

Ultem เป็นปิ๊กพลาสติกที่มีความฝืดที่สุด ให้เสียงที่สว่างใส นิยมในหมู่นักเล่นแมนโดลิน

Lexan มีผิวเรียบ ลักษณะมันวาว โปร่งแสง เหมือนแก้ว แข็งมาก แต่ก็ความทนทานน้อย ใช้สำหรับทำปิ๊กระดับหนา และหนามาก มักเคลือบส่วนเพิ่มแรงเสียดทาน

Acrylic ผลิตครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1980 โดยบริษัท V-note มีลักษณะ แข็ง ใส ทนทานต่อแรงปะทะ และสภาพอากาศ ไม่เปราะแตก หรือเปลี่ยนสี สามารถทำรูปทรง และความหนาได้หลากหลาย ด้วยการพิมพ์แล้วตัดแต่ง อคริลิคบางเกรดสามารถนำไปผ่านความร้อนเพื่อความแข็งแรง และเพิ่มอายุการใช้งาน เมื่อจับแล้วจะรู้สึกว่าปิ๊กเกาะมือ

Polyamide-imide วัตถุดิบชนิดนี้ใช้กันมากอุตสาหกรรมการบินอวกาศเพื่อแทนที่โลหะผสม ปิ๊กที่ใช้วัตถุดิบชิ้นนี้จะเกิดแรงเสียดทานกับสายน้อย และมีความทนทานสูง 

Carbon Fiber เป็นวัตถุดิบที่มีคงทนสูง และมีความแข็งมากเมื่อเทียบกับน้ำหนัก ถูกนำมาทำปิ๊กกีตาร์ที่บางที่สุดในโลก มีความหนาเพียง 0.2 มิลลิเมตร แบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่นำวัตถุดิบนี้มาใช้ได้แก่ PickHeaven, Dunlop และ RJK guitars

โลหะ ปิ๊กที่ทำจากโลหะสามารถเปลี่ยนซาวด์ของกีตาร์ทั้งออคูสติกและกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวทำจากเหรียญ บางตัวทำจากเงินซึ่งจะให้เสียงที่สว่างใส แตกต่างจากปิ๊กทั่วไป มีช่างทำปิ๊กโลหะที่มีชื่อเสียงคือ Master Artisan Guitar Pick เป็นงานทำมือที่เน้นสร้างปิ๊กจากเหรียญ และโลหะอื่นๆ 

เขาสัตว์ กระดูก หนังสัตว์ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในการทำปิ๊ก ใช้เขาและกระดูกสัตว์จำพวก วัว ควาย ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม แต่ก็ยังมีช่างผลิตอยู่บ้าง 

ไม้ ให้เสียงที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันตามเนื้อไม้ และความหนาแน่นของไม้  ให้โทนเสียงที่อุ่นกว่าพลาสติก หรือโลหะ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งทำ เช่น African Blackwood, Bocote, Cocobolo, Lignum vitae, Rosewood และ Zebrawood แต่ก็ยังแตกหักง่ายกว่าพลาสติก

แก้ว เป็นวัตถุดิบที่หนา โค้งมน แข็ง หนักที่สุดเมื่อเทียบกับพลาสติก และโลหะ ดังนั้นจะให้โทนเสียงที่กว้าง ตัวปิ๊กจะทำให้ลื่น หรือฝืดได้ ขึ้นอยู่กับเบอร์ของกระดาษทรายที่ใช้ขัด

อื่นๆ 

Agate หินอาเกต หรือคนไทยสมัยก่อนเรียกว่า หินโมรา หนาตั้งแต่ 1 มม. (หายาก) ถึง 5 มม. มีความยืดหยุ่นน้อยมาก ด้วยความที่ตัวปิ๊กมีความแข็งกว่าสายกีตาร์ ทำให้เกิดเสียงสะท้อน กังวานได้เต็ม

Felt คือ ผ้าสักหลาด เหมาะสำหรับใช้ดีดอูคูเลเล่

Turtle/Tortoise shell หรือ กระดองเต่า ปัจจุบันถูกแบนไปแล้ว แต่ก็มีปิ๊กที่จำลองคุณสมบัติปิ๊กจากกระดองเต่าโดยใช้โปรตีนจากสัตว์ มีความแข็ง หนา เรียบ ส่วนปลายมีความยืดหยุ่นเพียงเล็กน้อย

Tagua เป็นผลของพืช มีลักษณะเหมือนถั่ว มีลำต้นเหมือนต้นปาล์ม พบในแถวอเมริกาใต้ ปิ๊กเคลื่อนผ่านสายได้ง่ายทำให้เสียงที่ได้นุ่ม เคลียร์  โดยทั่วไปเป็นปิ๊กที่ทำด้วยมือ ด้วยความที่มีคุณสมบัติคล้ายๆ งาช้าง ด้านสี และผิวสัมผัส ทำให้มีฉายาว่า “Vegetable ivory” 

รูปทรงของปิ๊ก

รูปทรงของปิ๊กมีมากมายหลายแบบตามความถนัด ความต้องการ และความเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น

ปิ๊กสามเหลี่ยม – ใช้ง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่ จับง่าย และมีหลายมุมให้ใช้

ปิ๊กทรงสแตนดาร์ด – ใช้งานทั่วไป ปิ๊กกิ้งเคลื่อนผ่านสายได้สะดวก 

ปิ๊กสำหรับสวมนิ้ว – ใช้สำหรับเล่นฟิงเกอร์สไตล์

ชื่อบทความ: ปิ๊กกีตาร์ และวัตถุดิบที่ใช้

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Guitar_pick

รับจัดเครื่องดนตรี จัดสเปคเครื่องดนตรี อุปกรณ์ หรือเครื่องเสียง

ใบเสนอราคา ทุกสถานที่ ติดต่อได้เลย

♬♬ The band music shop ♫♫♪♪

ข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้เลยครับ

› เพจ theband music shop https://www.facebook.com/Thebandmusicshop/

› ติดต่อสอบถามทางLine

https://lin.ee/4I8EM0J

› เว็บไซด์ the band music shop

http://www.thebandmusic.com/

☎ ติดต่อสอบถามโทร 028048800

☎ สายตรงโรงเรียนดนตรี 0818709190

☎ สายตรงร้าน the band music shop 0806038998

#ศูนย์บริการเครื่องดนตรีครบวงจร#Guitar#theband#Bass#thebandmusicshop#ร้านดนตรี#กีตาร์#เบส#เปียโน#กีตาร์ไฟฟ้า#รับจัดเครื่องดนตรี#จัดสเปคเครื่องดนตรี#อุปกรณ์ดนตรี#เครื่องเสียง